ตุ๊กแกเสือดาว
ตุ๊กแกเสือดาว นั่นเอง ตุ๊กแกชนิดนี้ไม่เหมือนตุ๊กแกตามบ้านที่เราเคยเห็นกันทั่วไป ดู ๆ ไปแล้วจะเหมือนจิ้งจกมากกว่า น้องน่ารัก เป็นมิตร ไม่ดุร้ายและมีรอยยิ้มที่เป็นเอกลักษณ์ เคยมีคนนำรูปน้องตอนอ้าปาก(แต่ดูเหมือนน้องยิ้มให้กล้องมากกว่า)
ลักษณะ
ตุ๊กแกเสือดาวเมื่อแรกเกิดมีขนาด 3-4 นิ้ว เมื่อโตเต็มวัยในตัวผู้จะมีขนาด 8-10 นิ้ว และตัวเมียมีขนาด 7-8 นิ้ว ตามธรรมชาติ ตุ๊กแกเสือดาวมีอายุยืน 6-10 ปี แต่ในที่เลี้ยงพวกมันสามารถมีอายุยืนได้ถึง 20 ปี มันหากินในเวลากลางคืนนั้นเพื่อหลบอากาศร้อนในเวลากลางวันและลดการสูญเสียน้ำในร่างกาย โดยพวกมันจะเลียกินน้ำที่ระเหยขึ้นมาตามซอกหินและยังอาศัยอยู่บริเวณซอกหินเหล่านี้เพื่อหลบร้อน พวกมันอาศัยในพื้นที่ กึ่งแห้งแล้ง, แห้งแล้ง, กรวดหรือทะเลทราย (แต่ไม่ใช่ทะเลทรายที่มีแต่ทรายสุดลูกหูลูกตาแบบนั้นนะครับ) ตุ๊กแกเสือดาวพบได้ในประเทศ ตุรกีทางตะวันตก, ทางเหนือซีเรีย, อิหร่าน, อิรัก, อัฟกานิสถาน, เติร์กเมนิสถาน, ปากีสถานและทางตะวันตกของอินเดียโดยที่เราเลี้ยงๆกันในปัจจุบันส่วนมากมาจากประเทศปากีสถาน ตุ๊กแกเสือดาวได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์มาเพราะพวกมันมีเปลือกตาเพื่อป้องกันฝุ่นละอองตามธรรมชาติเท้าที่เป็นเล็บแหลมสำหรับปีนป่ายซึ่งต่างจากตุ๊กแกชนิดอื่นๆที่มีเท้าเป็นพังผืด หางที่อวบอ้วนของมันเป็นตัวช่วยเก็บสารอาหารซึ่งทำให้พวกมันทนต่อสภาพการขาดอาหารในสถานที่ที่ทุรกันดารตามธรรมชาติ
นิสัยและพฤติกรรม
ตุ๊กแกสายพันธุ์นี้เป็นสัตว์ที่ค่อนข้างขี้สงสัย น้องจะชอบเดินสำรวจพื้นที่ในกล่องเลี้ยง หรือบางทีถ้าเราปล่อยน้องออกมา เดิน น้องก็จะออกมาเดินเล่นทั่วทั้งห้องก็ได้ ดังนั้นควรปล่อยเดินอย่างระมัดระวังและอยู่ในสายตาตลอดเวลา ในกรณีที่ต้องการจับน้องออกมาเดินหรือจับเข้ากล่องควรใช้มืออ้อมไปด้านหลังน้องแล้วช้อนไปกลางลำตัว ไม่ควรเข้าด้านหน้าเพราะน้องจะตกใจ นึกว่ามีศัตรูหรือสัตว์นักล่ามาทำร้าย อาจโดนกัดได้ เลเวลความเจ็บเวลาโดนน้องกัดก็จะประมาณโดนไม้หนีบผ้าหนีบแค่นั้นเอง เมื่อน้องกัดน้องจะรีบปล่อย อาจใช้เวลาแค่ 1 วินาที ไม่ได้กัดแล้วงับคาไว้เหมือนตุ๊กแกบ้าน และไม่ควรจับที่หางน้องเด็ดขาด เพราะถ้าน้องตกใจมาก ๆ จะสละหางตัวเองเหมือนจิ้งจกเพื่อเอาตัวรอด ปล่อยให้หางตัวเองดึงดูดนักล่านั่นเอง แต่ไม่ต้องห่วงเพราะหางน้องงอกใหม่ได้ แต่จะไม่สวยเหมือนเดิม หางจะหงิก ๆ งอ ๆ ไม่สวยเหมือนเดิม
การเลี้ยงดูและที่อยู่อาศัย
ตุ๊กแกเสือดาว สามารถเลี้ยงได้ทั้งในตู้กระจก (ตู้ปลา)หรือกล่องพลาสติก ถ้าคุณเลี้ยงพวกมันเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงหรือเพื่อนของคุณเราแนะนำให้คุณเลี้ยงพวกมันในตู้กระจกจะทำให้คุณเห็นพวกมันได้ง่ายขึ้นและคุณยังตกแต่งตู้ให้สวยงามได้อีกด้วย ตุ๊กแกเสือดาวเป็นสัตว์ที่มาจากเขตร้อนและแห้ง ความร้อนจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพวกมันซึ่งเป็นตัวช่วยกระตุ้นการอยากอาหารและการย่อยอาหาร (ระบบขับถ่าย) อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ประมาณ 28-30°C ซึ่งประเทศไทยนั้นมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงแต่ในต่างประเทศที่มีอุณหภูมิที่เย็นกว่านั้นมักจะใช้แผ่นความร้อนเป็นตัวช่วยควบคุมอุณหภูมิ แม้ตุ๊กแกเสือดาวของเราจะชอบอากาศที่ร้อนแต่พวกมันยังคงต้องการอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวกด้วย ควรเตรียมที่ซ่อนตัวให้มันซึ่งอาจจะเป็นกล่องพลาสติกเจาะรู, ถ้วยพลาสติกคว่ำเจาะช่องเข้า-ออก, บ้านไม้เล็กๆสำเร็จรูป ที่ซ่อนนั้นช่วยให้ตุ๊กแกเสือดาวของเรารู้สึกปลอดภัยไม่เครียด ที่ซ่อนนั้นอาจมี 2 แบบคือที่ซ่อนแห้งและที่ซ่อนชื้น ซึ่งที่ซ่อนชื้นนั้นช่วยในการลอกคราบของตุ๊กแกเสือดาวอีกด้วย
อาหาร
ตุ๊กแกเสือดาว โดยทั่วไปแล้วชอบกินสัตว์ที่มีชีวิตและการเคลื่อนไหวซึ่งนั่นก็เป็นการกระตุ้นความอยากอาหารของมัน ตุ๊กแกเสือดาวจะแลบลิ้นออกมาเพื่อใช้ชิมอาหารซึ่งอาหารหลักของพวกมันคือแมลงและลูกสัตว์ตัวเล็กๆ โดยปกติเราจะให้กินหนอนนกแต่มันยังสามารถกินได้ทั้ง จิ้งหรีด, หนอนยักษ์, หนอนแว็ก
อายุขัย
ตุ๊กแกเสือดาว เป็นสัตว์ที่มีอายุขัยได้ยาวนาน 6 – 10 ปีทีเดียว แต่ทั้งนี่ก็ต้องขึ้นอยูที่ผู้เลี้ยงด้วยว่าได้เอาใจใส่ และดูแลทำความสะอาดเขาได้ดีเพียงใด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง LINE OA. Click here
ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ