หนูดัมโบ้
หนูดัมโบ้ คือหนึ่งในสุดยอดสัตว์เลี้ยงราคาถูกที่คนไทยหลายคนมองข้าม อาจเป็นเพราะรูปร่างมันเหมือนหนูบ้านและมีหางยาวเปลือยแบบที่หลายคนไม่ชอบ แต่เว็บเมืองนอกกลับมีแต่คนเชียร์ให้เลี้ยงกัน เมื่อมีใครถามว่าจะเลี้ยงตัวอะไรที่เชื่อง แสนรู้ และเล่นกับเราได้
วงการคนเลี้ยงหนูแรทเมืองนอกมีแม้กระทั่งการจัดประกวด
ลักษณะ
หนูดัมโบ้ โตเต็มที่ได้ถึง 8-9 นิ้ว และหางก็ยาวพอๆกัน มีสีสวยงามให้เลือกหลายสี
เมืองนอกมีคนเพาะสายพันธุ์ไม่มีหางแล้ว หรือเราอาจจะเลือกตัวที่หางกุดในร้านก็ได้ น่าจะมีให้เห็นบ้าง
หลายคนอาจจะสับสนกับ ไมซ์ mice ที่รูปร่างตอนเด็กจะคล้ายกัน
ส่วนดัมโบ้แรท คือหนูแรทที่ถูกเพาะแบบคัดเลือกสายพันธุ์ให้มีใบหูใหญ่ นอกนั้นก็ไม่มีอะไรต่างกัน
นิสัยและพฤติกรรม
ความฉลาดของมันเชื่อว่าฉลาดสุดในสัตว์ฟันแทะ ทำให้ตอนเลี้ยงรู้สึกเหมือนเลี้ยงหมากับแมวหน่อยๆ
แรทเป็นสัตว์สังคมที่ควรเลี้ยงอย่างน้อยสองตัว เพื่อให้มันมีความสุข และควรเป็นเพศเดียวกัน
อีกทั้งเป็นสัตว์ที่สะอาด และมีปฏิกริยาโต้ตอบกับคนสูงมาก มันชอบเข้ามาเล่นกับมนุษย์ในฐานะเพื่อนตัวหนึ่ง
คนเลี้ยงจะเล่นกับมันได้ดุจหมาตัวน้อยๆเลยทีเดียว และมันยังชอบสำรวจสถานที่ต่างๆด้วย มีคลิปคนพาออกไปเล่นในสนามหญ้าให้ดูเยอะแยะ
มันเชื่องถึงขนาดเล่นขว้างของให้มันคาบมาให้ได้ และฝึกให้ขับถ่ายเป็นที่ได้
การฝึกให้ถ่ายเป็นที่ ทำได้ด้วยการ เอาถาดสำหรับอึไปวางตรงตำแหน่งที่มันชอบอึในกรง และเอาอึของมันใส่ลงไปในถาดอึ ทำไปเรื่อยๆมันจะรู้เองว่าต้องอึในถาด
การเลี้ยงดูและที่อยู่อาศัย
กรงเลี้ยงควรจะใหญ่หน่อย ใส่ของเล่นเพียงแค่แกนทิชชู่ หนังสือพิมพ์ก้อนๆ
รองพื้นด้วยขี้เลื่อยที่ทำจาก ต้น Aspen ห้ามใช้ขี้เลื่อยที่ทำจาก Cedar และ Pine (อ่านจากฉลากหน้าถุง)
และเลือกยี่ห้อที่ไม่มีฝุ่นขี้เลื่อย เพราะฝุ่นจากวัสดุรองกรง มีอันตรายสำหรับหนู
หรือใช้กระดาษรองพื้นอัดเม็ดสำเร็จรูป ซึ่งมีขายในร้านสัตว์เลี้ยงหลายแห่ง
อาหาร
อาหารสัตว์หนูทั่วๆไป รวมไปถึงธัญพืช ส่วนน้ำใส่ในกระบอกน้ำสัตว์เลี้ยงแขวนไว้
อายุขัย
หนูดัมโบ้ เป็นสัตว์ที่มีอายุขัยได้ยาวนาน 2 – 3 ปี แต่ทั้งนี่ก็ต้องขึ้นอยูที่ผู้เลี้ยงด้วยว่าได้เอาใจใส่ และดูแลทำความสะอาดเขาได้ดีเพียงใด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง LINE OA. Click here
ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ ฺ